ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสำโรง
โดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ผู้ศึกษา นางพจพร พุทธชาติ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านสำโรง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ปีที่พิมพ์ 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75 / 75 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสำโรง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และศึกษาความพึงพอใจในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น
ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสำโรง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้พื้นฐาน รหัสวิชา ค32101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 25 คน ซึ่งดำเนินการจัดการเรียนเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ จำนวน 9 ชุด รวม 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบย่อยท้ายชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test แบบ Dependent Sample Test
ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.21 / 83.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75 / 75 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสำโรง โดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสำโรง ที่มีต่อชุด การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น